4 สิ่งผิดปกติบ่งบอกว่าลูกรักเป็น “เด็กพัฒนาการล้าช้า”
Cr. 4 สิ่งผิดปกติบ่งบอกว่าลูกรักเป็น “เด็กพัฒนาการล้าช้า” | โรงพยาบาลพญาไท (phyathai.com)
เด็กที่มีพัฒนาการช้าคือ เด็กที่มีพัฒนาการไม่สมวัยเมื่อเทียบกับเด็กปกติ โดยเด็กอาจมีพัฒนาการช้าในทุกๆ ด้าน หรือมีพัฒนาการช้าในบางด้านเท่านั้น อาการผิดปกติที่ส่งผลทำให้ลูกพัฒนาการช้านั้น เกิดขึ้นได้จากหลายปัจจัย ทั้งปัจจัยภายในและปัจจัยภายนอก เช่น พันธุกรรมที่ได้รับพ่อและแม่, สุขภาพที่ไม่สมบูรณ์ของแม่ขณะตั้งครรภ์, การคลอดที่ไม่ราบรื่น, สุขภาพเด็กหลังคลอด และปัจจัยแทรกซ้อนช่วงหลังคลอด รวมถึงการดูแลและภาวะโภชนาการที่ไม่เหมาะสม อีกทั้งหากลูกมีร่างกายที่ผิดปกติ ก็จะส่งผลไปถึงพฤติกรรมของลูกได้อีกด้วย
ทำความเข้าใจพัฒนาการลูกน้อย
พัฒนาการของเด็กที่ช้ากว่าปกติ จะดูได้จากช่วงอายุนั้นๆ เทียบกับตารางพัฒนาการตามวัยของเด็กที่ควรจะเป็น โดยแบ่งออกเป็น 4 ด้านหลัก
- ด้านกล้ามเนื้อมัดใหญ่ ความสามารถในการเคลื่อนไหว เช่น ลูกน้อยของคุณสามารถใช้ร่างกายในการเคลื่อนไหว เช่น นั่ง ยืน เดิน วิ่ง กระโดด ปีนป่าย ขี่จักรยานได้หรือไม่
- ด้านกล้ามเนื้อมัดเล็ก ความสามารถในการใช้มือ ในการทำกิจกรรมต่างๆ การหยิบจับ ขีดเขียน การช่วยเหลือตัวเองในชีวิตประจำวัน เช่น ใส่เสื้อผ้า ติดกระดุมได้หรือไม่
- ด้านภาษา มีความเข้าใจภาษาและการใช้ภาษาท่าทาง พูด เช่น เด็ก 1 ปี จะสามารถเข้าใจคำสั่งง่ายๆ ขั้นตอนเดียว และสามารถใช้ภาษาพูดเป็นคำเดี่ยว ในการสื่อสาร
- ด้านอารมณ์และสังคม เป็นความสามารถในการอยู่ร่วมกับผู้อื่น การเล่นกับเพื่อน การเข้ากลุ่ม ทำกฎกติกาต่างๆ ในสังคม
วิธีการสังเกตพัฒนาการของเด็กในแต่ละช่วงวัย
อาการผิดปกติที่คุณพ่อคุณแม่สามารถสังเกตเห็นได้ง่ายๆ เมื่อลองเปรียบเทียบกับพัฒนาการที่ควรจะเป็นตามตารางพัฒนาการตามวัย เช่น
-
- อายุ 1-2 เดือน ลูกไม่ตอบสนองต่อเสียง
- อายุ 6 เดือน ไม่คว่ำ ไม่ส่งเสียงอ้อแอ้
- อายุ 9 เดือน ไม่นั่งเอง ไม่แสดงอารมณ์หรือเล่นสนุกกับคนอื่น
- อายุ 12 เดือน ไม่สื่อสารด้วยท่าทาง ไม่สนใจคน
- อายุ 18 เดือนไม่เดิน ไม่เข้าใจคำสั่งง่ายๆ
- อายุ 2 ปี ไม่รู้จักการเล่น พูดเป็นคำๆ ไม่น้อยกว่า 50 คำ
- อายุ 3 ปี ภาษาที่ลูกพูด คนอื่นฟังไม่เข้าใจ ยังไม่พูดเป็นประโยชน์
- อายุ 4-5 ปี ไม่เล่นเข้ากลุ่มกับเพื่อนเล่นเรื่องไม่ได้แต่งตัวไม่ได้
จะรู้ได้อย่างไรว่าลูกมีพัฒนาการล่าช้า ?
4 วิธีสังเกตง่าย อาการผิดปกติที่ทำให้พัฒนาการลูกช้า ที่พ่อแม่สังเกตได้นอกจากการสังเกตลูกรักดังที่กล่าวมาแล้ว ลักษณะภายนอกที่คุณพ่อคุณแม่สามารถสังเกตเห็นได้คือ
1.การได้ยิน
ในช่วงอายุประมาณ 6 เดือน ให้คุณพ่อคุณแม่ลองสังเกตดูว่า ลูกน้อยของคุณสามารถหันหน้าตามทิศทางของเสียงเรียกได้หรือไม่ เรียกแล้วหันหรือไม่ แต่หากลูกไม่ตอบสนองกับเสียงที่ได้ยินรอบข้าง เช่น ไม่หัน ไม่สะดุ้งหรือตกใจเมื่อมีเสียงดัง ลักษณะเช่นนี้อาจเป็นสัญญาณบ่งบอกถึงความผิดปกติได้ อีกกรณีคือ พูดโต้ตอบแต่ใช้เสียงดังผิดปกติ ตอบสนองช้า เช่นเรียกชื่อนานกว่าจะตอบสนอง เข้าใจคำพูดยาก ไม่เข้าใจคำสั้ง ออกเสียงคำง่ายๆ ไม่ได้เป็นต้น
2.การมองเห็น
หากว่าลูกน้อยมีพัฒนาการล่าช้าสามารถสังเกตได้จากตาของลูก โดยจะห่างจนผิดปกติตาเหล่าเข้า หรือตาเหล่ออก หากมองเห็นแสงสะท้อนจากรูม่านตาลูกเป็นสีขาวแสดงว่ามีความผิดปกติอยู่ด้านหลังรูม่านตา หรือสังเกตปัญหาการมองเห็น ลูกดูเหมือนการมองไม่ชัดเจน ไม่สามารถโฟกัสวัตุได้ จะสังเกตได้จากลูกน้อยขยี้ตาบ่อยๆ ไม่มองตามผู้คนหรือสิ่งของ มักหยิบวัตถุเข้ามาดูใกล้ๆ ตา เวลาเล่นหรือ กระตุ้นให้ลูกได้ฝึกเคลื่อนไหวดวงตาด้วยสิ่งของเคลื่อนไหวแล้วลูกมองตามวัตถุแล้วตาแกว่งไม่หยุดนิ่ง ไม่จับจ้องวัตถุ ไม่สบตานั่นก็อาจมีความผิดปกติบางอย่างเกิดขึ้นได้
3,การเคลื่อนไหวร่างกาย
เด็กที่มีพัฒนาการผิดปกติจะมีลักษณะแขนขายาวไม่เท่ากันทั้งสองข้างนิ้วยึดติด ในส่วนของการเคลื่อนไหวร่างกาย สามารถสังเกตได้ง่ายๆ ดูได้จากลูกน้อย สามารถ ลุก ยืน เดิน ได้คงที่หรือไม่ ถ้ามีอาการอ่อนปวกเปียกผิดปกติ แขนขาเกร็ง ทำให้เด็กเคลื่อนไหวลำบาก ลักษณะเช่นนี้ ลูกน้อยของคุณจะมักใช้ร่างกายด้านใดด้านหนึ่งมากกว่าอีกด้าน เซื่องซึม ขาดความกระตือรือร้น ไม่สามารถควบคุมลำตัวเพื่อทรงตัวให้มีความสมดุลขณะถูกอุ้ม เป็นต้น
4.พฤติกรรมและการแสดงออก
พฤติกรรมก้าวร้าวรุนแรง หรือซนมากผิดปกติ ไม่ชอบสบตากับใคร ไม่มีสมาธิ หรือไม่สนใจกิจกรรมที่กำลังทำอยู่ สนใจสิ่งของหรือวัตถุใด ๆ มากกว่าการปฏิสัมพันธ์กับผู้อื่น ไม่สนใจหรือไม่ต้องการพ่อแม่ หากพบความผิดปกติเหล่านนี้ให้ปรึกษาแพทย์เพื่อหาความผิดปกติ และวางแผนการรักษารวมส่งเสริมพัฒนาการให้ลูกน้อย
คุณพ่อคุณแม่สามารถเริ่มต้นส่งเสริมพัฒนาการให้ลูกน้อยของคุณเองได้ เช่น งดให้ลูกดูทีวี เล่นเกม เล่นโทรศัพท์มือถือ เพราะมีประโยชน์น้อยเป็นการสื่อสารทางเดียว ส่งผลให้ลูกของคุณนั่งนิ่งๆ ไม่เคลื่อนไหว ไม่ได้ใช้ความคิด หรือลงมือทำ ที่สำคัญคุณพ่อคุณแม่ควรใช้เวลาทำกิจกรรมที่ช่วยส่งเสริมพัฒนาการจะได้ประโยชน์กับลูกมากว่า